ประเภทของ “เกียร์มอเตอร์” มีกี่แบบ และแต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานอย่างไร

หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า เกียร์มอเตอร์ มีหลายแบบ และแบ่งออกตามการใช้งานต่างกัน ดังนี้

  • เกียร์มอเตอร์แบบตรง (Helical Gear Motor)

ลักษณะภายในมีฟันเฟืองแบบเฉียงที่ให้คุณสมบัติสามารถลดรอบมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้เหมาะสมกับงานหลายประเภท โดยมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบขาตั้ง หน้าแปลน หรือแบบมอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก ซึ่งนิยมนำมาใช้งานในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ประตูเลื่อนอัตโนมัติ, งานรอกยกของ และอีกมากมาย

  • เกียร์มอเตอร์แบบขาตั้ง (Parallel Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์แบบขาตั้ง (Parallel Shaft Gear Motor) โครงสร้างภายนอกประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องเกียร์ และก้านเพลายื่นออกมา โดยที่ฝั่งเกียร์จะมีฐานเป็นขาตั้งที่ใช้สำหรับติดตั้งและยึดเข้ากับเครื่องจักรได้อย่างแน่นหนา ทำให้มอเตอร์เกียร์ทำงานได้แข็งแกร่งทนทาน และให้แรงบิดในการขับเคลื่อนสูง จึงเหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง เช่น งานยก, งานลำเลียงสินค้า, ขับเคลื่อนเครื่องจักร เป็นต้น

  • เกียร์มอเตอร์แบบหน้าแปลน (Flange Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลน (Flange Shaft Gear Motor) มีลักษณะเด่นบริเวณฝั่งก้านเพลาที่อยู่ตรงกลางด้านข้างจะยื่นออกมาเพื่อใช้รองรับการทำงานร่วมกับมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ได้ในตัว ทำให้มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลนสามารถส่งแรงบิดสูงได้เต็มกำลัง ทำงานเงียบ และสะดวกในการติดตั้งใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและเบาทุกชนิด เช่น งานยก, สายพานลำเลียงสินค้า เป็นต้น

  • เกียร์มอเตอร์แบบ 2 เพลาออก (Reducer Double Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก (Reducer Double Shaft Gear Motor) หรือมอเตอร์เกียร์ 2 เพลา จะมีลักษณะโดดเด่นที่ก้านเพลาจะยื่นออกมาจากหัวเกียร์ทั้งสองด้าน คือ ด้านข้างหรือด้านบน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ต้านทานต่อแรงกระแทกและการสึกหรอ ทำให้สามารถใช้ในระบบการทำงานที่ซับซ้อนได้ดี โดยมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบขาตั้งและแบบหน้าแปลน จึงเหมาะสำหรับใช้ติดตั้งเข้ากับยอย (Couping), โซ่เฟือง, สายพานลำเลียง เป็นต้น

ทั้งนี้ ก่อนการใช้งานใดๆ ทางเราแนะนำให้ศึกษาการใช้งานของแต่เกียร์มอเตอร์ให้ดีก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุดนะคะ